Uncategorized

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT

ในบทความนี้เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT ไว้ด้วยกันครับ คะแนน GMAT เต็มเท่าไหร่ GMAT มีทั้งหมด 4 พาร์ท Integrated Reasoning (IR), Writing (AWA), Verbal, และ Math IR เต็ม 8, AWA เต็ม 6, Verbal และ Math เต็ม 51 (ถึงแม้ว่าในเว็บจะเขียนว่าเต็ม 60 แต่ในการทำสอบจริงนั้นได้มากสุดเพียงแค่ 51 คะแนน) ส่วนคะแนนรวมเต็ม 800 จะมาจากแค่ส่วนของ Verbal และ Math และตีคะแนนออกมาเป็นคะแนนเต็ม 800 ซึ่งเป็นคะแนนที่มหาวิทยาลัยให้ความสนใจมากที่สุด จะเห็นได้จากค่าเฉลี่ยคะแนนที่มหาวิทยาลัยเน้น คะแนน GMAT เก็บได้นานแค่ไหน  คะแนน GMAT สามารถเก็บได้ 5 ปีหลังจากวันที่สมัครสอบ และสามารถขอคะแนนดูย้อนหลังได้ 10 ปี …

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT Read More »

คำศัพท์สำหรับข้อสอบ GMAT และเทคนิคการฝึกคำศัพท์

ถ้าหากเราอ่านบทความในอินเตอร์เน็ตจะเห็นมีหลายคนที่ถามถึงข้อนี้ และ คำตอบที่มักจะได้ก็คือ GMAT เป็นข้อสอบที่เน้นความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ ใครที่ท่องศัพท์คือการทำข้อสอบ GMAT ผิดวิธี ซึ่งคำตอบนี้ก็ไม่ได้ผิดซะทีเดียว เพราะว่าข้อสอบ GMAT นั้นไม่ได้เหมือนกับข้อสอบ GRE ที่เราต้องนั่งท่องคำศัพท์มากมาย (ซึ่งคำส่วนมากก็ไม่รู้จะเอาไปใช้ตอนไหนในชีวิตประจำวัน) แต่เนื่องจากข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่เน้นความเข้าใจ การที่เราไม่รู้จักคำศัพท์ที่สำคัญๆ ก็อาจจะทำให้เราตีความผิด หรือไม่เข้าใจโจทย์ หรือ เนื้อเรื่องใน RC ได้ ดังนั้น ผมขอสรุปว่าคำตอบด้านบนนั้นเหมาะกับ native speaker มากกว่า แต่สำหรับคนไทยแบบเราๆนั้น หากเราท่องคำศัพท์ที่เห็นบ่อยในหัวข้อที่ออกสอบ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะอ่านได้ไวขึ้น เข้าใจได้มากขึ้น ดังนั้นสำหรับ GMAT แล้ว เทคนิคการท่องศัพท์จะเป็นสองข้อด้านล่างนี้ครับ 1. ท่องศัพท์ที่ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม นั่นเพราะคำศัพท์ที่มีคำอธิบายอยู่แล้ว มักจะเป็นคำศัพท์ที่เฉพาะทางและไม่จำเป็นต้องรู้ก็สามารถเข้าใจ reading ได้ (ผู้ออกข้อสอบจึงได้มีคำอธิบายมาให้ในส่วนขยาย หรือประโยคต่อมา) 2. ท่องศัพท์ที่เห็นบ่อยๆ หลังจากที่เราทำข้อสอบมาเยอะๆแล้วจะเริ่มเห็นว่าคำไหนที่เห็นซ้ำๆ บ่อยๆ คำนั้นมีความจำเป็นที่ต้องรู้ เช่น artifact  สำหรับบทความประเภท archaeology, debris …

คำศัพท์สำหรับข้อสอบ GMAT และเทคนิคการฝึกคำศัพท์ Read More »

GMAT: แหล่งที่เหมาะกับการฝึก RC

Reading Comprehension (RC) ในข้อสอบ GMAT จะมีบทความหลักๆอยู่สี่กลุ่มใหญ่คือ science, social science, humanity, หรือ business ซึ่งข้อสอบได้ออกแบบมาให้ผู้สอบไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านนั้นๆมาก่อน (จะเห็นได้ว่าถ้ามีการใช้คำเฉพาะใน RC แล้ว จะมีคำอธิบายประกอบเป็น relative clause (which, that) หรือมีคำอธิบายในประโยคถัดมา) แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเราคุ้นเคยหรือพอมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆอยู่แล้ว เราจะสามารถอ่านบทความในหัวข้อเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น และ หากใครอยากหาอ่านบทความในแต่ละหัวข้อขอแนะนำแหล่งด้านล่างนี้ครับ https://www.smithsonianmag.com/ สำหรับบทความในหมวด social science และ humanity และหัวข้อที่ GMAT นิยมมากที่สุดจะเป็นในแนว female rights และ African American rights https://www.scientificamerican.com/ สำหรับบทความวิทยาศาสตร์ ซึ่ง GMAT จะชอบเน้นทั้ง biology ทั้งของคนและสัตว์ ไปจนถึง quantum physics, และ astronomy (เคมีไม่ค่อยเห็น) …

GMAT: แหล่งที่เหมาะกับการฝึก RC Read More »

GMAT: การใช้ subjunctive

Subjunctive ใน GMAT จะไม่ได้เห็นบ่อยนัก แต่ผู้สอบก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักและใช้ให้เป็น ลักษณะของ subjunctive คือ 1. N1 + verb* + that + N2 + v.base suggest, advise, ask, command, demand, desire, insist, order, prefer, propose, recommend, request v.base คือ v พื้นฐาน (v.1 แบบไม่เติม -s, -es และ be สำหรับ verb to be) I suggest that you be on time. (จะเห็น้ว่าใช้ be ไม่ใช่ are) …

GMAT: การใช้ subjunctive Read More »

GMAT: Not as ….. but as

การใช not as …. but as เป็นลักษณะ idiom ที่เห็นบ่อย ถึงแม้ว่าการใช้ not…. but จะสามารถตามด้วยคำนามหรือ preposition phrase ได้ เช่น I went there not by car but on foot. ฉันไม่ได้ไปที่โดยรถยนต์แต่เดินไป   That thing is not a man but a monster. สิ่งนั่นไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นสัตว์ประหลาด   แต่ถ้าใช้ร่วมกับ as เมื่อไหร่ ข้อสอบ GMAT จะใช้ในลักษณะ not as A but as B ซึ่งมีความหมายว่าไม่ได้ในฐานะที่เป็น A แต่ว่าเป็น B …

GMAT: Not as ….. but as Read More »

Welcome to ExamHunter

0

error: Content is protected !!