GMAT หรือ GRE ควรเลือกสอบอะไรดี

เราควรเลือกสอบ GMAT หรือ GRE ดี คำถามนี้คงเป็นคำถามในใจของหลายๆคนที่กำลังเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอกอยู่ แต่คำถามนี้ซึ่งฟังดูเหมือนง่ายนี้จริงๆแล้ว เราควรจะวิเคราะห์ให้ดีครับว่าเป้าหมายในการเรียนต่อของเราคืออะไร และข้อสอบไหนจะช่วยให้เราเข้าใกล้เป้าหมายนั้นมากกว่า

คำถามสองคำถามด้านล่างนี้น่าจะช่วยให้เราเลือกได้ง่ายขึ้นครับว่าควรจะสอบ GMAT หรือ GRE 

  1. โปรแกรมไหนที่ต้องการเข้า
  2. ถนัดกับลักษณะข้อสอบแบบไหนมากกว่า

 

1. โปรแกรมไหนที่ต้องการเข้า

ในการสมัครคณะที่อยู่ใน business school ไม่ว่าจะเป็นคณะ MBA, marketing, accounting, หรือ finance ส่วนมากจำเป็นต้องมีคะแนนคะแนน GMAT ในการสมัคร และ ถึงแม้จะมีหลายโปรแกรมที่รับข้อสอบ GRE ในการสมัครด้วยเช่นกัน แต่จำนวนของมหาวิทยาลัยที่รับแค่ GMAT อย่างเดียวก็ยังมีจำนวนมากกว่าและ ส่วนมากแล้ว admission committee ของโปรแกรม business เหล่านี้ก็ชอบคะแนน GMAT มากกว่า GRE ด้วย ดังนั้นแล้วถ้าหากว่ามั่นใจว่าต้องการสมัครในโปรแกรม business school แน่นอนแล้ว ผู้สอบควรที่จะเลือกข้อสอบ GMAT มากกว่า (ถึงแม้ว่าทางมหาลัยจะบอกว่าไม่ส่งผลต่อการรับนักศึกษาเข้าเรียน แต่โดยส่วนตัวแอดมินก็ยังเชื่อว่า GMAT เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในประเด็นนี้)

แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกคณะ business หรือคณะด้านอื่นๆ การสมัคร GRE ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ปลอดภัยมากกว่าเพราะสามารถใช้ในการสมัครได้ทั้งโปรแกรมใน business school และโปรแกรมอื่นๆ ด้วย เช่น data analysis, engineering, education และ public policy

ซึ่งการที่ผู้สอบได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะสมัครเรียนต่อในโปรแกรมไหนนั้น นอกจากจะช่วยให้สามารถวางแผนได้ว่าจะสอบข้อสอบอะไรดีแล้ว ยังช่วยให้สามารถวางแผนการเตรียมตัวได้ด้วย เช่น โปรแกรม engineering ต้องการผู้เรียนที่มีความถนัดทางด้าน quantitative เป็นพิเศษ จึงมักชอบผู้สมัครที่มีคะแนน quant สูง ในขณะที่คณะ education หรือ public policy สนใจในด้านการใช้ภาษามากกว่าจึงชอบผู้สมัครที่มีคะแนนในส่วน verbal สูง ซึ่งการที่ผู้สอบรู้ว่าควรสอบข้อสอบอะไร เป้าหมายคะแนนเป็นอย่างไร จะทำให้ผู้สอบสามารถวางแผนในการเตรียมตัวได้ง่ายขึ้นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น 

 

2. ถนัดกับข้อสอบชนิดไหนมากกว่า / ความแตกต่างของข้อสอบทั้งสองชนิด

ถึงแม้ GMAT และ GRE มีจุดประสงค์คล้ายกัน แต่ทั้งสองข้อสอบมีข้อแตกต่างกันอยู่หลายจุดดังด้านล่างนี้ครับ

Objective เป้าหมาย

GMAT ใช้เพื่อสมัครเรียนต่อในระดับชั้นปริญญาโทและเอกใน business school

GRE ใช้เพื่อสมัครเรียนต่อในระดับชั้นปริญญาโทและเอกในโปรแกรมต่างๆรวมถึง business school

Vocabulary คำศัพท์

GMAT แทบไม่เน้นการใช้คำศัพท์และจะเน้นในเรื่องของการตีความเป็นหลัก (ในข้อสอบ GMAT คำศัพท์ที่ยากส่วนมากมักมีคำอธิบายตามมา และ คำศัพท์ที่เหลือส่วนมากสามารถเดาได้จากบริบท context)

GRE เน้นที่การใช้คำศัพท์มากกว่า GMAT มาก (จะเห็นได้จากพาร์ท Sentence Equivalent และ Text Completion)

Question Adaptive vs Section Adaptive แปรผันตามข้อ แปรผันตาม section

GMAT จะเป็นการ adaptive ตามข้อเลยคือถ้าทำข้อใดข้อหนึ่งได้ดี จะเจอข้อสอบที่ยากขึ้นในข้อถัดๆมาเลย ในขณะที่ข้อสอบ GRE จะเป็นการ adaptive ตาม section เช่นถ้าทำ verbal ชุดแรกได้ดี verbal ในชุดที่สองจะยากขึ้น

ฺOne direction & two direction ทิศทางเดียว หรือไปและกลับได้

GMAT ผู้สอบไม่สามารถข้ามข้อ หรือ กลับไปข้อที่ผ่านไปแล้วได้ ดังนั้นผู้สอบต้องตัดสินใจให้ดีก่อนว่าข้ามข้อไหน และต้องวางแผนการ manage เวลาให้ดีอยู่ตลอดเวลา

GRE ผู้สอบสามารถเลื่อนไปทำข้อถัดไปได้และย้อนกลับมาทำข้อที่ทำไปแล้วได้ (ภายใน section เดียวกัน) ดังนั้นผู้สอบจึงควรใช้ประโยชน์จากตรงจุดนี้ให้เต็มที่ในการทำข้อสอบ GRE

Similarities ส่วนคล้าย

ข้อสอบ GMAT และ GRE มีความคล้ายอยู่หลายด้าน เช่นเนื้อหาที่ออกข้อสอบในพาร์ท quant ส่วนมากเป็นหัวข้อเดียวกัน และ ทั้งสองข้อสอบมีการทดสอบ skill การอ่านและการตีความข้อผู้สอบภายใต้เวลาที่จำกัด ดังนั้นทางเราจึงแนะนำว่าผู้ที่เตรียมทำการสอบ GMAT และ GRE จึงควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษพอประมาณก่อนเริ่มการเตรียมตัว

สำหรับราคาทั้งสองส่วนมีราคาใกล้เคียงกันโดย GMAT อยู่ที่ 250 USD และ GRE 205 USD และข้อสอบทั้งสองชนิดสามารถเก็บคะแนนไว้ได้ 5 ปี

 

สรุป

นอกจากเป้าหมายการเรียนต่อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผู้สอบควรศึกษาข้อสอบทั้งสองชนิดให้ดีก่อนทำการตัดสินใจ (หากว่าโปรแกรมที่ตั้งใจจะสมัครสามารถใช้ได้ทั้ง 2 คะแนน) เช่น สำหรับคนที่ถนัดการท่องคำศัพท์และการใช้คำศัพท์อาจจะเหมาะสำหรับการทำข้อสอบ GRE ในขณะที่คนที่ถนัดในการคิดเชิงตรรกะ ข้อสอบ GMAT อาจจะเหมาะมากกว่า แต่ไม่ว่าจะเลือกข้อสอบไหน ทางทีม ExamHunter อยากเน้นทุกคนว่าคะแนนสอบเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาของ Admission Committee เท่านั้น ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น essays, CV, recommendation letters และ interview ผู้สอบจึงควรเตรียมทุกส่วนให้พร้อมเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนในโปรแกรมที่ต้องการ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Welcome to ExamHunter

0

error: Content is protected !!